เผยแพร่เมื่อ : อังคาร 12 ธันวาคม 2566 โดย Natthida Wongpaeng จำนวนผู้เข้าชม 3295 คน
เมื่อวันที่ 12 ธันวาคม 2566 กลุ่มงานยุทธศาสตร์ SPU นำโดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ว่าที่ร้อยโทสุรพิน พรมแดน หัวหน้ากลุ่มงานยุทธศาสตร์ SPU พร้อมคณะ ได้ลงพื้นที่ ณ สถานประกอบการ ณ วิสาหกิจชุมชนท่องเที่ยวเชิงเกษตรและวิถีวัฒนธรรมบ้านขุนช่างเคี่ยน ต.ช้างเผือก อ.เมืองเชียงใหม่ จ.เชียงใหม่ เพื่อประชุมประเมินตรวจติดตามโครงการ Pre-Talent Mobility ประจำปี 2566 และสำรวจโจทย์ความต้องการร่วมกับสถานประกอบการเพื่อต่อยอดงานวิจัย ณ สถานประกอบการ "โครงการจิบกาแฟ แลดอย ผ่อกอยม้ง : การท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมอย่างสร้างสรรค์ บ้านขุนช่างเคี่ยน อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ ของ นางสาวอำพร กันทา อาจารย์สังกัดคณะบริหารธุรกิจและศิลปศาสตร์ มทร.ล้านนา เชียงใหม่ หัวหน้าโครงการ"
โดยมี ดร.นวรัตน์ พรหมอุปถัมภ์ อาจารย์ผู้เชี่ยวชาญด้านการท่องเที่ยวและการบริการ การท่องเที่ยวเชิงนิเวศและการพัฒนาศักยภาพการท่องเที่ยวของชุมชน คณะบริหารธุรกิจและศิลปศาสตร์ มทร.ล้านนา เชียงใหม่ ให้เกียรติเป็นคณะกรรมการประเมินโครงการดังกล่าว
ทั้งนี้ นางสาวอำพร กันทา (หัวหน้าโครงการ),นายอิศร์ วัจนสุนทร (ผู้ร่วมโครงการ) ,นายวิรัช ยั่งยืนกุล, นายณรงค์ ยั่งยืนกุล (สถานประกอบการ) วิสาหกิจชุมชนท่องเที่ยวเชิงเกษตรและวิถีวัฒนธรรมบ้านขุนช่างเคี่ยน ได้รายงานผลการดำเนินงานโครงการในที่ประชุม และร่วมหารือ แนวทางในการพัฒนาโครงการดังกล่าวเพื่อต่อยอดแผนธุรกิจเชิงการท่องเที่ยวเพื่อจูงใจและดึงดูดนักท่องเที่ยวให้เข้ามาเยี่ยมชมเพื่อเสริมสร้างรายได้ให้แก่ชุมชน
จากโครงการนักวิจัย มทร.ล้านนา ได้เข้ามามีส่วนร่วมกับวิสาหกิจชุมชนที่มีความต้องการพัฒนากิจกรรมทางการท่องเที่ยวจากฐานทรัพยากรของหมู่บ้านและจุดเด่นทางด้านผลผลิตทางการเกษตร ด้วยการพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์เพื่่อยกระดับศักยภาพด้านการท่องเที่ยวโดยชุมชนของสมาชิกวิสาหกิจชุมชนการท่องเที่ยวบ้านขุนช่างเคี่ยน การสร้างมูลค่าเพิ่มให้แก่ทรัพยากรการท่องเที่ยวเชิงเกษตรและวิถีวัฒนธรรมม้งบ้านขุนช่างเคี่ยน และการเสริมสร้างศักยภาพของสมาชิกวิสาหกิจชุมชนท่องเที่ยวเชิงเกษตรและวิถีวัฒนธรรมบ้านขุนช่างเคี่ยน ให้เกิดประโยชน์สูงสุด จากโครงการดังกล่าว ได้มีการคิด พัฒนา การจัดทำโปรแกรมการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมอย่างสร้างสรรค์ เพื่อให้วิสาหกิจชุมชนได้นำโปรแกรมการท่องเที่ยวมาปรับใช้และเป็นการดึงดูด และประชาสัมพันธ์แหล่งท่องเที่ยว เช่น โปรแกมการท่องเที่ยว Drink Bird Friendly @ขุนช่าางเคี่ยน ที่เป็นกิจกรรมการท่องเที่ยวเชิงระบบนิเวศ ที่มีการเรียนรู้ เดิน เที่ยวเล่น ดูวิถีชีวิตคนในชุมชน ศึกษาดูนก และมีการเรียนรู้เรื่องของกาแฟ การจัดการ การดูแลสวนกาแฟ วิธีเก็บเกี่ยวกาแฟ กิจกรรมการทดสอบเส้นทางการท่องเที่ยวขุนช่างเคี่ยน และยังมีกิจกรรมอื่นๆอีกมากมาย ที่เน้นในเรื่องรักษ์โลก เช่น กิจกรรมส่งเสริมการเก็บขยะของคนในชุมชน และการเรียนรู้เชิงเกษตรอีกด้วย โครงการดังกล่าวประสบผลสำเร็จและสร้างประโยชน์แก่ธุรกิจของวิสาหกิจชุมชนได้อย่างแท้จริง อีกทั้งมีแนวทางในการพัฒนาต่อยอดโปรแกรมการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ระบบนิเวศ การท่องเที่ยงเชิงสร้างสรรค์อื่นๆที่จะสามารถดำเนินการได้ในอนาคตต่อไปอีกด้วย
ออกแบบและพัฒนาโดย สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา