โลโก้เว็บไซต์ กลุ่มงานยุทธศาสตร์ SPU ลงพื้นที่ประเมินตรวจติดตามโครงการ Pre-Talent Mobility ประจำปี 2566 โครงการพัฒนามิเตอร์อัจฉริยะสำหรับการติดตามข้อมูล แจ้งเตือนเหตุการณ์ผิดปกติ และคิดค่าบริการการใช้ไฟฟ้า ของ นายณัฐวัฒน์ พัลวัล หัวหน้าโครงการ ร่วมกับ บริษัท พีบีดับบลิว ไลท์ติ้ง จำกัด  | งานประชุมคณะกรรมการบริหาร มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา

กลุ่มงานยุทธศาสตร์ SPU ลงพื้นที่ประเมินตรวจติดตามโครงการ Pre-Talent Mobility ประจำปี 2566 โครงการพัฒนามิเตอร์อัจฉริยะสำหรับการติดตามข้อมูล แจ้งเตือนเหตุการณ์ผิดปกติ และคิดค่าบริการการใช้ไฟฟ้า ของ นายณัฐวัฒน์ พัลวัล หัวหน้าโครงการ ร่วมกับ บริษัท พีบีดับบลิว ไลท์ติ้ง จำกัด

เผยแพร่เมื่อ : พุธ 6 ธันวาคม 2566 โดย Natthida Wongpaeng จำนวนผู้เข้าชม 2376 คน

ยังไม่มีคะแนนสำหรับบทความนี้ ผู้อ่านสามารถให้คะแนนบทความได้จากปุ่มข้างใต้

เมื่อวันที่ 6 ธันวาคม 2566 กลุ่มงานยุทธศาสตร์ SPU ได้ลงพื้นที่ ณ สถานประกอบการ ณ พีบีดับบลิว ไลท์ติ้ง จำกัด ตำบลสันปูเลย อำเภอดอยสะเก็ด จังหวัดเชียงใหม่ เพื่อประชุมประเมินตรวจติดตามโครงการ Pre-Talent Mobility ประจำปี 2566 และสำรวจโจทย์ความต้องการร่วมกับสถานประกอบการเพื่อต่อยอดงานวิจัย ณ สถานประกอบการ "โครงการพัฒนามิเตอร์อัจฉริยะสำหรับการติดตามข้อมูล แจ้งเตือนเหตุการณ์ผิดปกติ และคิดค่าบริการการใช้ไฟฟ้า ของ นายณัฐวัฒน์ พัลวัล อาจารย์สังกัดคณะ วิศวกรรมศาสตร์ มทร.ล้านนา เชียงใหม่ หัวหน้าโครงการ"

โดยมี ผู้ช่วยศาสตราจารย์นพพร พัชรประกิติ อาจารย์ผู้เชี่ยวชาญด้านวิศวกรรมระบบไฟฟ้า และเทคโนโลยีพลังงานคณะวิศวกรรมศาสตร์ มทร.ล้านนา เชียงใหม่ ให้เกียรติเป็นคณะกรรมการประเมินโครงการดังกล่าวผ่านระบบออนไลน์ Microsoft Teams 

ทั้งนี้ นายณัฐวัฒน์ พัลวัล (หัวหน้าโครงการ),นายกัญจน์ นาคเอี่ยม (ผู้ร่วมโครงการ) และนายวศิน เอี่ยวเฮ็ง (ตัวแทนสถานประกอบการ) บริษัท พีบีดับบลิว ไลท์ติ้ง จำกัด ได้รายงานผลการดำเนินงานโครงการในที่ประชุม และร่วมหารือ แนวทางในการพัฒนาโครงการดังกล่าวเพื่อต่อยอดงานวิจัย อีกทั้งแนะนำพาเยี่ยมชมสถานประกอบการ โรงงานผลิต นำเข้า ประกอบ วิจัยและพัฒนามิเตอร์ที่มีการอ่านหน่วยระยะไกล มิเตอร์อิเล็กทรอนิกส์ สมาร์ทมิเตอร์ ที่ได้ตั้งสาขาขึ้น ณ ตำบลสันปูเลย อำเภอดอยสะเก็ด จังหวัดเชียงใหม่ 

จากโครงการได้มีการพัฒนาศึกษาและวิเคราะห์โจทย์ความต้องการของสถานประกอบการที่มีความต้องการพัฒนามิเตอร์ไฟฟ้าสมาร์ท มิเตอร์ไฟฟ้าอัจฉริยะที่สามารถเชื่อมต่อกับเครือข่ายไร้สายที่สามารถเป็นประโยชน์ต่อผู้ใช้งานที่สามารถเข้าถึงได้ง่าย ทุกที่ สะดวกสบาย สามารถส่งข้อมูลเช่น แรงดันไฟฟ้า กระแสไฟฟ้า และหน่วยการใช้ไฟฟ้า ในระดับที่มีความแม่นยำ ข้อมูลถูกต้องและปลอดภัย อีกทั้งส่งข้อมูลการแจ้งเตือนการคำนวณการจ่ายค่าไฟฟ้ารายเดือน การตรวจจับเหตุการณ์ผิดปกติทางไฟฟ้า ผ่านสมาร์ทโฟนหรืออุปกรณ์อื่น ๆ ผ่านแอพพลิเคชั่นไลน์ ซึ่งนักวิจัยได้เข้าไปมีส่วนร่วมในการวิจัย และออกแบบพัฒนาซอฟต์แวร์เพื่อเชื่อมต่อให้สามารถแสดงข้อมูลได้อย่างถูกต้อง แม่นยำ ร่วมออกแบบและพัฒนาสมาร์ทมิเตอร์ เพื่อให้สามารถสื่อสารข้อมูลผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ตได้ด้วยเทคโนโลยีอินเทอร์เน็ต ทั้งนี้ทางสถานประกอบการได้มีการนำส่งมิเตอร์เข้าสู่กระบวนการตรวจมาตรฐาน มอก. และได้รับการรับรองเป็นที่เรียบร้อยแล้ว จากโครงการดังกล่าวประสบผลสำเร็จและสร้างประโยชน์แก่ธุรกิจของสถานประกอบการได้อย่างแท้จริง อีกทั้งมีแนวทางในการพัฒนาต่อยอดสมาร์ทมิเตอร์ผลิตภัณฑ์ใหม่ของสถานประกอบต่อไปอีกด้วย







ออกแบบและพัฒนาโดย สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา