โลโก้เว็บไซต์ มทร.ล้านนา พลิกโฉมมหาลัยด้านงานสื่อสารองค์กร ดึงเครือข่าย PR มหาวิทยาลัยและนักศึกษา ติวเข้มการสร้าง Content ที่น่าสนใจและเข้าถึงกลุ่มเป้าหมาย | งานประชุมคณะกรรมการบริหาร มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา

มทร.ล้านนา พลิกโฉมมหาลัยด้านงานสื่อสารองค์กร ดึงเครือข่าย PR มหาวิทยาลัยและนักศึกษา ติวเข้มการสร้าง Content ที่น่าสนใจและเข้าถึงกลุ่มเป้าหมาย

เผยแพร่เมื่อ : พุธ 16 สิงหาคม 2566 โดย วิทยา กวีวิทยาภรณ์ จำนวนผู้เข้าชม 5605 คน

ยังไม่มีคะแนนสำหรับบทความนี้ ผู้อ่านสามารถให้คะแนนบทความได้จากปุ่มข้างใต้

     กองประชาสัมพันธ์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล(มทร.)ล้านนา  จัดโครงการอบรมเชิงปฏิบัติการเรื่องการสร้างเนื้อหาสารด้วยกลยุทธ์การวิเคราะห์ผู้รับสาร(Content Created by Target Analytics Strategy) ระหว่างวันที่ 15 - 16 สิงหาคม 2566
ณ โรงแรมแอท นาธา รีสอร์ท อำเภอแม่ริม จังหวัดเชียงใหม่ เพื่อให้ผู้เข้าร่วมโครงการมีความรู้และวิธีการในการพัฒนางานประชาสัมพันธ์ของมหาวิทยาลัยให้เป็นที่รู้จักอย่างแพร่หลายมากขึ้น  มีการนำเทคโนโลยีดิจิทัลมาใช้เป็นฐานในการปรับการบริหารจัดการ รวมถึงเปลี่ยนวิธีการสื่อสารแบบดั้งเดิม สู่การสื่อสารและทำประชาสัมพันธ์แบบใหม่ในยุคดิจิทัล โดยใช้วิธีการสื่อสาร ได้แก่
1.      การสร้างเนื้อหาที่น่าสนใจ (Content Creator)
2.      การเลือกเครื่องมือสื่อสารให้ตรงกลุ่มเป้าหมาย จากพฤติกรรมการสื่อสาร
3.      การวางกลยุทธ์การสื่อสาร กำหนดนโยบายของการสื่อสารในองค์กร หรือ การจัดการภาพลักษณ์ขององค์กร ให้ไปในทิศทางที่กำหนดได้อย่างไร้ความขัดแย้ง
4.      ดำเนินกลยุทธ์เพื่อสื่อสารให้ตรงเป้า เมื่อมีการกำหนดเป้าหมายชัดเจน ก็ต้องมีการระบุการดำเนินการในทางปฏิบัติ ว่าจะสามารถเข้าถึงการรับรู้ของกลุ่มเป้าหมาย
     โดยมีผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.จัตตุฤทธิ์ ทองปรอน รักษาราชการอธิการบดี กล่าวเปิดโครงการอบรม พร้อมด้วยอาจารย์อัคค์สัจจา ดวงสุภาสิญจ์ ผู้ช่วยอธิการบดี ร่วมให้แนวทางการปฏิบัติงานด้านสื่อสารองค์กรให้สอดคล้องกับบริบทการนำพามหาวิทยาลัยสู่การเป็น "มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีและนวัตกรรมแห่งล้านนา"อย่างมีคุณภาพตลอดจนแนวทางการสนับสนุนส่งเสริมงานด้านประชาสัมพันธ์ในมิติของผู้บริหารมหาวิทยาลัย และกล่าวรายวัตถุประสงค์การจัดโครงการโดยนายนริศ กำแพงแก้ว ผู้อำนวยการกองประชาสัมพันธ์

     ในโอกาสเดียวกันนี้ได้รับเกียรติจากอาจารย์กมลวรรธ สุจริต และคณะเป็นวิทยากรในการการอบรมให้ความรู้ในการอบรม ซึ่งมีตัวแทนหน่วยงานภายในมหาวิทยาลัย ที่รับผิดชอบงานประชาสัมพันธ์เข้ารับการอบรม ได้แก่ กองประชาสัมพันธ์ ตัวแทนจากทั้ง 6 เขตพื้นที่ ตัวแทนจาก 4 คณะ และวิทยาลัย ตัวแทนจากสถาบัน สำนัก ตัวแทนนักศึกษา รวมถึงกลุ่มบุคคลผ่านการประเมินตนเองผ่านแพลตฟอร์มออนไลน์ (The Predictive Index : PI) ประเภทกลุ่มสังคม (Social) รวมทั้งสิ้น จำนวน 40 คน 







ออกแบบและพัฒนาโดย สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา