โลโก้เว็บไซต์ มทร.ล้านนา ร่วมกับสำนักงานปลัด อว. เปิดเวทีถ่ายทอดประสบการณ์นักวิจัย Talent Mobility แนะแนวทางการเข้าสู่การขอตำแหน่งเชิงวิชาการ  | งานประชุมคณะกรรมการบริหาร มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา

มทร.ล้านนา ร่วมกับสำนักงานปลัด อว. เปิดเวทีถ่ายทอดประสบการณ์นักวิจัย Talent Mobility แนะแนวทางการเข้าสู่การขอตำแหน่งเชิงวิชาการ

เผยแพร่เมื่อ : จันทร์ 18 เมษายน 2565 โดย อภิญญา พูลทรัพย์ จำนวนผู้เข้าชม 2962 คน

ยังไม่มีคะแนนสำหรับบทความนี้ ผู้อ่านสามารถให้คะแนนบทความได้จากปุ่มข้างใต้

            วันที่ 18 เมษายน 2565 มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา ร่วมกับสำนักงานปลัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม จัดการประชุมเชิงปฏิบัติการเพื่อนำเสนอแนวทางการขอตำแหน่งทางวิชาการด้วยผลงาน talent  Mobility เพื่อนำเสนอกรณีศึกษาของการนำผลงาน Talent Mobility มาใช้สำหรับการเสนอขอตำแหน่งวิชาการและแลกเปลี่ยนเรียนรู้ประสบการณ์ในการดำเนินงานระหว่างนักวิจัยเกี่ยวกับการนำผลงานวิจัยด้านอุตสาหกรรมมาใช้สำหรับการขอตำแหน่งทางวิชาการ โดยได้รับเกียรติจาก ศาสตราจารย์ ดร.ศุภชัย ปทุมนากุล รองปลัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์  วิจัยและนวัตรกรรม (อว.)  เป็นประธานและบรรยายพิเศษในหัวข้อ “การเสนอขอตำแหน่งทางวิชาการด้วยผลงานวิชาการเพื่ออุตสาหกรรม” ในโอกาสนี้ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.จัตตุฤทธิ์ ทองปรอน รักษาราชการแทนอธิการบดี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา กล่าวต้อนรับผู้เข้าร่วมการประชุม  ณ ห้องประชุม Nimman 1 คอนเวนชั่น เซ็นเตอร์ จังหวัดเชียงใหม่  และมีการถ่ายทอดสด ผ่านระบบ Zoom meeting และ live facebook ที่ MHESIThailand

           ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.จัตตุฤทธิ์ ทองปรอน รักษาราชการแทนอธิการบดี กล่าวว่า “ต้องขอขอบคุณกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์  วิจัยและนวัตกรรมที่ได้ให้เกียรติ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนาเป็นผู้ดำเนินกิจกรรมในครั้งนี้ ซึ่งมหาวิทยาลัยได้ดำเนินโครงการ Talent Mobilityมาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2559 จนถึงปัจจุบัน ซึ่งสามารถแก้ไขปัญหาตามโจทย์ของภาคอุตสาหกรรมในด้านการผลิตและพัฒนาผลิตภัณฑ์ด้านกระบวนการได้  ก่อให้เกิดการพัฒนาการวิจัย (R&D) ภายในสถานประกอบการ  พัฒนาบุคลากรในองค์กรและพัฒนาทักษะด้านวิจัย  นอกจากนี้ยังเกิดประโยชน์ต่อการเรียนการสอนภายในมหาวิทยาลัย โดยสามารถนำผลงานจากโครงการ Talent Mobility ที่ดำเนินการมาใช้ขอกำหนดตำแหน่งทางวิชาการได้ ซึ่งเป็นการพัฒนาศักยภาพอาจารย์ผู้สอน ถ่ายทอดองค์ความรู้ในภาคอุตสาหกรรมสู่การสร้างบัณฑิตนักปฏิบัติที่ตรงตามความต้องการของสถานประกอบการซึ่งเป็นปัจจัยเสริมอย่างดีในการขับเคลื่อนระบบเศรษฐกิจของประเทศ”

         โครงการ Talent Mobility คือ โครงการส่งเสริมนักวิจัยในมหาวิทยาลัย และสถาบันภาครัฐในประเทศให้มีการร่วมทำงานในสถานประกอบการเพื่อยกระดับขีดความสามารถในการแข่งขันทางเทคโนโลยี และนวัตกรรมไทยให้เป็นรูปธรรม โดยในงานนี้ ยังมีการอภิปราย “การใช้ประโยชน์จากผลงานวิจัยภายใต้โครงการ Talent Mobility กรณีตัวอย่าง มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา  โดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์แมน ตุ้ยแพร่ ผู้ช่วยศาสตราจารย์  กุลทรัพย์ ผ่องศรีสุข และอาจารย์ชณิชา จินาการ มาร่วมถ่ายทอดประสบการณ์การดำเนินโครงการ Talent Mobility ซึ่งถือว่าเป็นโครงการที่ประสบความสำเร็จและเป็นกรณีศึกษาให้กับนักวิจัยที่สนใจ







ออกแบบและพัฒนาโดย สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา